ส
เอกสารหมายเลข 2.5
ิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการเป็นภาคี AFTA
ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี
ในการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศได้นั้น การลดอากรขาเข้าระหว่างกันให้ต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 0 สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศสมาชิกด้วยกันเท่านั้นเป็นเงื่อนไขอันดับแรกสุด เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ก็มีความตกลงด้านนี้ เรียกว่า ความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
1. CEPT คืออะไร
CEPT ย่อมาจาก Common Effective Preferential Tariff (อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน) หมายถึง การลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
2. ความเป็นมา
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือให้เกิด สันติภาพความมั่งคงและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ปัจจุบัน ASEAN ประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาวและกัมพูชา
แรกเริ่ม สาระสำคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ คือการให้สิทธิภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN Preferential Trading Arrangement : ASEAN PTA) อย่างไรก็ตาม สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างภาคีอาเซียนมักไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศสมาชิก เป็นเหตุให้การค้าไม่ขยายตัวมากเท่าที่ควร และการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกันก็ดำเนินไป อย่างเชื่องช้า และไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers : AEM) ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2534 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไทยได้เสนอแนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงมีมติให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนและให้ใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) เป็นกลไกลสำคัญในการลดภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าอาเซียน
ต่อมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-28 มกราคม 2535 ประเทศสมาชิกจึงได้ตกลงตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายในเวลา 15 ปีเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2536 ทั้งนี้จะใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) เป็นกลไกลหลักในการลดภาษีให้อยู่ในระดับต่ำเพียง 0 - 5 %
ต่อมาในการประชุม AEM เมื่อวันที่ 22-23 กันยายน 2537 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมได้ตกลงให้ลดระยะเวลาดำเนินการของ AFTA จาก 15 ปี ลงเหลือ 10 ปี โดยให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 1 มกราคม 2546
3. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของ AFTA
3.1 วัตถุประสงค์
-
เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี มีอัตราภาษีศุลกากรต่ำสุด และปราศจาก ข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier: NTB)
-
เพื่อดึงดูดการลงทุนจากนอกอาเซียน
-
เพื่อปรับตัวเข้าตัวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกให้เป็นเสรียิ่งขึ้น
3.2 เป้าหมาย
ลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่นำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันให้เหลือ 0 - 5% ภายใน 10 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2546 และในวันที่ 1 มกราคม 2546 ทุกประเทศจะมีอัตราภาษีศุลกากรเป็น 0 ในรายการสินค้าร้อยละ 60 ของทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 40 จะมีอัตราสูงสุดได้ไม่เกิน 5%
(ข้อสังเกตุ รายการสินค้าที่ลดระหว่างกันไม่จำเป็นต้องเป็นรายการเดียวกัน)
4. ความตกลง CEPT
ตกลงให้ใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (CEPT) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
4.1 สินค้าที่ลดภาษี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
(ก) กลุ่มสินค้าที่เร่งลดภาษี (Fast Track) กำหนดให้เร่งลดมาที่ร้อยละ 20 ก่อนมี 15 กลุ่ม ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องอิเล็คทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์แก้วและเซรามิก และแคโทดที่ทำจากทองแดง
(ข) กลุ่มสินค้าที่ลดภาษีทั่วไป (Normal Track) ได้แก่ สินค้าที่จะลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากสินค้า 15 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น
4.2 ระยะเวลาการลดภาษี
(ก) กลุ่มสินค้าที่เร่งลดภาษี (Fast Track)
-
สินค้าที่มีภาษีสูงกว่าร้อยละ 20 ให้ลดลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2543
-
สินค้าที่มีภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ลดลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2541
(ข) กลุ่มสินค้าที่ลดภาษีในระยะเวลาปกติ (Normal Track)
-
สินค้าที่มีภาษีสูงกว่าร้อยละ 20 ให้ลดลงเหลือร้อยละ 20 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2540 และลดต่อไปให้เหลือร้อยละ 0 - 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2546
-
สินค้าที่มีภาษีเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 ให้ลดลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2543
4.3 การยกเลิกข้อกีดกันทางการค้า สินค้าที่ลดภาษีแล้วจะไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
-
การจำกัดปริมาณนำเข้า-ส่งออก (Quantitative Restrictions : QRs) เช่น โควต้า หรือ ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก เป็นต้น
-
มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้า-ส่งออก การกำหนดเงื่อนไขเฉพาะสำหรับสินค้าประเภทต่างๆ ก่อนอนุญาตนำเข้า เป็นต้น
-
มาตรการจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Restrictions)
5. คุณสมบัติของสินค้าส่งออกที่จะได้รับสิทธิลดภาษี CEPT
-
เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนผู้นำเข้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นรายการเดียวกันในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน)
-
มีคุณสมบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้า คือ จะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบและต้นทุนในประเทศสมาชิก ( ASEAN Content ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เทียบกับราคา FOB ของสินค้าส่งออก
-
จะต้องใช้หลักเกณฑ์การขนส่งโดยตรงภายใต้ข้อตกลง CEPT
-
มีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ที่กรมการค้าต่างประเทศออกให้ไปแสดงต่อศุลกากรของประเทศอาเซียนผู้นำเข้า
6. หลักการลดภาษีต่างตอบแทน ภายใต้ CEPT
-
ประเทศสมาชิกจะสามารถใช้สิทธิพิเศษฯ ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอื่น ได้ ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นได้ลดภาษีสินค้าชนิดเดียวกันนั้นลงเหลือร้อยละ 20 หรือต่ำกว่าเสียก่อน
-
สินค้าที่มีอัตราภาษีที่สูงกว่าร้อยละ 20 จะไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษฯ จากประเทศสมาชิกที่มีอัตราภาษีร้อยละ 20 หรือต่ำกว่าได้ แต่จะใช้สิทธิพิเศษฯ ได้กับประเทศสมาชิกที่ลดภาษีสินค้าชนิดเดียวกันในอัตราภาษียังคงสูงกว่า ร้อยละ 20 เท่านั้น
7. การปรับปรุง CEPT/AFTA
- เพื่อจะให้โครงการ CEPT มีความหมายและชัดเจนขึ้น ที่ประชุมอาเซียนมีมติให้ยกเลิกรายการสินค้าที่แต่ละประเทศขอสงวนเป็นบัญชียกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List: TEL) ได้นาน 5 ปี แล้วให้ย้ายสินค้าในบัญชีนี้ไปอยู่รายการลดภาษี (Inclusion List : IL) จำนวนร้อยละ 20 ทุกปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
- ได้ตกลงให้มีการแก้ไขความตกลง ASEAN PTA โดยให้เปลี่ยนมาใช้ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของ PTA มาใช้กฎของ CEPT กล่าวคือ จะต้องมีสัดส่วนของวัสดุและต้นทุนในอาเซียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของราคาสินค้าส่งออก F.O.B. และให้เปลี่ยนจากการใช้ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ C (Form C) มาเป็นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ D (Form D) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป
- ได้ตกลงให้นำหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าสิ่งทอ และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เป็นเกณฑ์การผลิตที่แปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation Process Criterion) มาใช้เพิ่มเติมได้ โดยผู้ส่งออกสามารถ เลือกใช้การคำนวณ Percentage (สัดส่วนของ ASEAN Content ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40) หรือเกณฑ์การผลิตดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป
8. การพิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษี (ASEAN Integration System of Preferences : AISP) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ CLMV
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการให้สิทธิพิเศษ AISP
จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงให้มีการกระชับการรวมกลุ่มทางการค้าอาเซียน โดยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศและใหม่อีก 4 ประเทศ คือ (1) กัมพูชา (Cambodia) (2) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic (3) เมียนม่าร์ [Myanmar] และ (4) เวียดนาม (Vietnam) หรือ CLMV ด้วยการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร AISP เนื่องจากประเทศ CLMV ยังมีสินค้าส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษ CEPT ได้ ทั้งนี้เพื่อให้มีการส่งออกสินค้าที่เป็นรายได้สำคัญและสามารถนำรายได้นี้ไปพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ CLMV ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม อันเป็นการแสดงความเป็นมิตรที่ดีต่อกันแบบ ASEAN Spirit นอกจากนี้ ยังจะเป็นการส่งเสริมให้มีการลงทุนใน CLMV เพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศอื่นได้อีกด้วย ผลดีจึงเกิดกับทุกฝ่ายอันหมายถึงการขยายตลาดการค้าโดยตรง สำหรับประเทศไทยได้เลือกพิจารณาให้สิทธิ AISP กับสินค้าที่ขอและต้องเป็นรายการที่อยู่ในแผนการลดภาษีของ CLMV เท่านั้น ส่วนรายการที่อยู่ใน GEL (General Exclusion List) ของ CLMV และรายการสินค้าที่อยู่ใน SL (Selected List) ของไทยก็จะไม่ได้รับสิทธิ AISP ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการให้หรือยกเลิกสิทธิ AISP แบบฝ่ายเดียว โดยไม่มีการให้ CLMV เจรจาต่อรองแต่อย่างใด
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิพิเศษ (AISP) ของไทย
1) รายการสินค้า
เป็น Individual Country List กล่าวคือ จะพิจารณาให้สิทธิพิเศษรายการสินค้าตามที่แต่ละประเทศ CLMV ขอรับสิทธิเป็นการเฉพาะเท่านั้น
2) อัตราอากร (ให้ใช้อัตราอากรเท่ากับ CEPT)
-
สินค้าขอรับสิทธิจัดอยู่ใน Inclusion List (IL) ของไทยให้ใช้อัตรา 0 %
-
สินค้าขอรับสิทธิจัดอยู่ใน Temporary Exclusion List (TEL) ของไทยให้ใช้อัตรา 5 %
หมายเหตุ กรณีที่สินค้าใดในแต่ละประเทศ CLMV มีอัตราอากรต่ำกว่าร้อยละ 20 และไทยได้ลดอัตราภาษีมาที่ร้อยละ 0-5 แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องให้สิทธิ AISP อีกเพราะประเทศ CLMV จะสามารถส่งสินค้าเข้าประเทศไทยได้อย่างเสรีภายใต้หลักเกณฑ์ของ CEPT ซึ่งครอบคลุมเกณฑ์การลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว
3) ระยะเวลา (เป็นครั้งต่อครั้ง)
เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2552 โดยให้ครั้งละ 1 ปี และพิจารณาทบทวนทุกปีโดยประเทศไทยจะลดหรือเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และจำนวนรายการสินค้าได้โดยไม่ต้องเจรจา
4) เงื่อนไขของกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
สินค้าเกษตร : ให้ใช้เกณฑ์ Wholly-Obtained หรือ Single Country Local Content ร้อยละ 60 ถ้านำเข้าวัตถุดิบของไทยไปแปรรูปแล้วส่งกลับมาใหม่
สินค้าอุตสาหกรรม : ให้ใช้เกณฑ์ Wholly-Obtained หรือ Single Country Local Content ร้อยละ 40
เท่ากับ CEPT
5) การควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อผู้ผลิตภายในประเทศหากมีการนำเข้ามากเกินไป
กำหนดค่า Trigger Point โดยพิจารณาจากมูลค่า (หรือปริมาณ) การนำเข้าในปี 2543 ซึ่งจะ
คำนวณค่า Trigger Point เรียงตามลำดับก่อนหลัง หากสามารถคำนวณได้ในลำดับข้อใดก็ ให้ใช้ข้อนั้นเป็นเกณฑ์พิจารณา ดังนี้
-
มูลค่า หรือปริมาณ นำเข้าที่เพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 100 ของมูลค่า หรือปริมาณ ของTrigger Point ก็จะตัดสิทธิ AISP แก่ประเทศนั้นแล้วเก็บภาษีนำเข้าส่วนที่เพิ่มในอัตราปกติตามเดิม
-
การคำนวณค่า Trigger point จะใช้ข้อมูลมูลค่า หรือปริมาณ นำเข้าของไทยจากประเทศผู้ขอ AISP ในปี 2543 มาคูณ 2 (Trigger point = 2 X มูลค่านำเข้าประเทศผู้ขอ AISP ปี 2543)
-
กรณีที่ไม่มีข้อมูลการนำเข้าหรือมูลค่าเป็น 0 จากประเทศผู้ขอ AISP ให้ใช้มูลค่า (หรือปริมาณ) เฉลี่ยในปี 2543 จากจำนวนประเทศ CLMV ที่ไทยมีการนำเข้ามาเป็น Trigger Point ในกรณีนี้ไม่มีการใช้ 2 คูณ เพราะยังไม่มีการนำเข้ามาก่อน
-
กรณีที่ไม่มีข้อมูลการนำเข้าจากประเทศ CLMV ทั้งหมดให้ใช้มูลค่า (หรือปริมาณ) เฉลี่ยในปี 2543 จากจำนวนประเทศ ASEAN ที่ไทยนำเข้ามาเป็นฐานในการคำนวณแทน โดย Trigger Point ที่ใช้ คือ มูลค่า (หรือปริมาณ) นำเข้าหารด้วยจำนวนประเทศสูงสุดคือ 5 ประเทศ (Trigger point = มูลค่านำเข้าจาก ASEAN / 5 ) [เลข 5 มาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 5 ประเทศ โดยไม่นับประเทศไทย] หากมีข้อมูลเพียง 3 ประเทศก็ใช้ 3 หาร
-
กรณีที่ไม่มีข้อมูลการนำเข้าจากประเทศ ASEAN ให้ใช้มูลค่า (หรือปริมาณ) เฉลี่ยในปี 2543 จากจำนวนประเทศที่ไทยนำเข้ามาเป็นฐานการคำนวณ โดย Trigger Point ที่ใช้ คือ มูลค่า (หรือปริมาณ) นำเข้า หารด้วยประเทศสูงสุดคือ 145 (Trigger point = มูลค่านำเข้าจากทุกประเทศ / 145) [เลข 145 มาจากประเทศสมาชิก WTO โดยไม่นับประเทศไทย]
หากพบว่า Trigger point ที่คำนวณได้มีจำนวนสูงเกินไปจนมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการ หรือรัฐบาลไทยกับผู้ประกอบการเห็นว่าส่งผลกระทบต่อ คุณภาพ มาตรฐาน ความสะอาด หรือโรคระบาด ก็อาจพิจารณาไม่ให้ หรือยกเลิก AISP ได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรมีเหตุผลอันสมควรมาแสดงตามนั้น และผู้ผลิตภายในประเทศสามารถแจ้งปัญหาความเดือดร้อนมายังกระทรวงการคลัง พร้อมชี้แจงข้อมูลสนับสนุน เช่น ผลกระทบต่อยอดขาย ปริมาณการผลิต การจ้างงาน เป็นต้น ซึ่งกระทรวงการคลังจะตั้งคณะทำงานควบคุมปริมาณการนำเข้าตามเกณฑ์ Trigger Point โดยมีกรมศุลกากรเป็นประธานและเลขานุการ และมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นคณะทำงานพิจารณาเพื่อยกเลิกการให้สิทธิ AISP ในสินค้านั้นโดยมีหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติได้ในทันที เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการพิจารณาสถิติการนำเข้าภายใต้ Form AISP-Thailand พบว่า ยังไม่มีการใช้สิทธิพิเศษดังกล่าวในปี 2545 อาจเนื่องมาจากเป็นปีแรกของการให้ AISP และประเทศไทยยังไม่ได้นำเข้าสินค้าดังกล่าว หรืออาจมีการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศไทยและ CLMV ไม่เพียงพอ คณะทำงานจึงมีมติเสนอให้คงสิทธิเทียบเท่ากับปี 2544 ในปี 2545 และปรากฏว่า ในปี 2546 เริ่มมีการนำเข้าจากกัมพูชาบ้างแล้ว
เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการฝ่ายไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้เสนอแนวทางสนับสนุนในนโยบายเชิงรุกของประเทศโดยช่วยกระจายและเผยแพร่ ข้อมูลและการใช้สิทธิประโยชน์ของ AISP ให้ผู้ประกอบการพิจารณาเลือกรายการที่อาจให้สิทธิ AISP โดยคัดเลือกรายการที่ไทยสนใจไปลงทุนผลิตสินค้า ใช้แรงงาน ทรัพยากร และสิทธิประโยชน์การลงทุนในประเทศ CLMV และส่งสินค้านั้นกลับออกมายังประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ดี การพิจารณารายการสินค้าเพื่อการดังกล่าวอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ด้วย ได้แก่ สิทธิประโยชน์การลงทุนที่ประเทศ CLMV ให้ในลักษณะของ BOI กับระยะเวลาการคืนทุน ระบบสาธารณูปโภค ปัจจัยพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการทางการเงิน ตลอดจนความรู้และคุณภาพบุคลากร เป็นต้น
สรุปรายการที่ประเทศไทยให้สิทธิ AISP แก่ประเทศสมาชิก CLMV ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 -
ลาว มีจำนวน 24 รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้สน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา เป็นต้น ในประเภทพิกัดต่างๆ ดังนี้ 0908.30.000 1202.10.100 1202.10.900 1202.20.100 1202.20.900 1207.20.000 1207.30.000 1207.40.100 1207.40.900 4101.10.000 4101.21.000 4101.22.000 4101.29.000 4101.30.000 4101.40.001 4101.40.009 4409.10.000 4412.13.000
-
พม่า มีรายการที่ผ่านการพิจารณาจำนวน 30 รายการ เช่น ปู เมล็ดพืช ผักกกและอ้อ ก๊าซธรรมชาติ ไม้สน ฝ้าย และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า ในประเภทพิกัดต่างๆ ดังนี้ 0306.14.000 1209.91.000 1209.99.000 1211.90.100 1211.90.201 1211.90.202 1211.90.910 1211.90.991 1211.90.992 1211.90.999 1401.90.001 1401.90.009 1901.90.100 2711.21.000 4401.21.000 4407.29.111 4407.29.119 4407.29.900 4407.99.900 4408.90.010 4408.90.091 4408.90.099 4420.90.901 4420.90.909 5203.00.000 6904.90.000 (ยกเว้นบล็อคปูพื้น) 8504.90.010 8504.90.090
-
เวียดนาม มีจำนวน 18 รายการ เช่น อบเชย แอนทราไซด์ โพลิโครม สายอากาศเครื่องแต่งกายทำด้วยหนัง อุปกรณ์ตรวจสอบความดัน และเศษเส้นใยประดิษฐ์ ในประเภทพิกัดต่างๆ ดังนี้ 0906.10.001 0906.10.002 0906.20.001 0906.20.002 0909.10.000 1403.90.000 2008.19.001 2008.19.009 2701.11.000 2917.32.000 3703.20.000 4203.21.000 5505.10.000 7605.11.000 8460.40.000 8529.10.900 8529.90.990 9026.20.000
-
กัมพูชา มีจำนวน 46 รายการ เช่น สัตว์จำพวกโค กระบือ ปู กุ้ง เมล็ดฝ้าย ละหุ่ง งา กกและอ้อ ขนมปัง บิสกิต กรอบ ถุงน้ำแข็งน้ำร้อนจากยางพารา ไม้อัด หีบ กล่องจากไม้ สิ่งถักสาน เสื่อจากพืช ด้ายผลิตผ้าห่ม ที่นั่งทำจากหวาย ในพิกัดต่างๆ ดังนี้ 0102.90.000 0306.14.000 0306.19.000 0306.21.000 0306.22.001 0306.22.009 0306.24.001 0306.24.009 0306.29.000 1207.20.000 1207.30.000 1207.40.100 1207.40.900 1401.90.001 1401.90.009 1403.10.000 1403.90.000 1905.10.000 1905.20.000 1905.30.000 1905.40.000 1905.90.010 1905.90.090 4014.90.001 4014.90.009 4412.13.000 4420.90.901 4420.90.009 4601.20.000 4601.91.000 4601.99.000 5509.53.010 5509.53.090 5509.59.010 5509.59.090 5509.62.010 5509.62.090 5509.69.010 5509.69.090 5509.92.010 5509.92.090 5509.99.010 5509.99.090 9401.50.000
******************
Dostları ilə paylaş: |